วิเคราะห์หนัง 4 King
หนังไทยเรื่องใหม่กระแสแรง ที่พล๊อตเรื่องว่าด้วยนักเรียนนักเลง ที่ต้องการความเป็นใหญ่ในวงการของลูกผู้ชาย ที่ตัวละครเต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ เป็นหนังที่จะโอบไหล่ผู้ชมไป ทำความรู้จัก อย่างลึกซึ้งกับมุมมองของ อาชีวะยุค 90 ว่านอกจากเนื้อหาจะไปในเรื่องต่อยตี แต่ทุกคนก็มีหัวใจไม่แพ้กัน ดูหนังออนไลน์
เป็นอีกโปรเจกต์หนังที่ใช้เวลาเดินทางมาอย่างยาวนานทีเดียวกว่าที่ พุฒิพงษ์ นาคทอง ผู้กำกับที่จบจากวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธารามจะเริ่มออกเดินทางไล่ล่าความฝันการเป็นนักสร้างหนังมือฉมัง โดยไต่เต้าจากเด็กยกของคอยช่วยงานในกองจนมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับให้กับ ต้อม ยุทธเลิศ สิปปภาค ได้ในที่สุด และเขาก็พกพาเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังมาในสมัยเรียนและนำมาร้อยเรียงเขียนสร้างออกมาเป็นบทหนังออกเร่หาทุนเป็นเวลาหลายปี
จนทุกคนแทบนึกว่าโครงการจะล่มไปเสียแล้ว แต่ในที่สุดเขาก็ได้มาทำหนังยาวกับค่ายเนรมิตรหนัง ฟิล์ม จำกัด ค่ายหนังไทยหน้าใหม่ที่ดูมีวิสัยทัศน์น่าสนใจทีเดียว รับชมได้ที่ ดูหนัง
และอาจด้วยการฝ่าฟันผลักดันความฝันนี้มาอย่างยาวนาน เหมือนว่าเรื่องที่เขาอยากเล่ามันได้ถูกเคี่ยวถูกบ่มจนได้ที่ เค้นเนื้อเน้น ๆ ดีกรีแรงออกมาเป็นหนังเรื่องนี้ ถ้าถามว่าความรู้สึกมันคล้ายหนังเรื่องไหน ก็คงเป็น 2499 อันธพาลครองเมือง ในแบบฉบับที่จริงจังขึ้น และคมคายสมจริงขึ้นตามยุคสมัย
เรียกว่าเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทุกคนต่างจับตามองตั้งแต่ยังไม่เข้าฉาย เป็นภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มนักเรียนอาชีวะยุค 90 ซึ่งกลั่นกรองมาจากประสบการณ์จริงของผู้กำกับ พุฒิ-พุฒิพงษ์ นาคทอง
ด้วยองค์ประกอบหลายส่วนที่ถูกเผยออกมาในตัวอย่าง ล้วนถูกนำเสนอออกมาได้อย่างน่าสนใจและชวนติดตาม ทั้งพล็อตเรื่องที่กล่าวถึงกลุ่มนักเรียนอาชีวะ
ซึ่งน้อยครั้งนักที่จะถูกหยิบมาบอกเล่าเป็นภาพยนตร์, ฉากหลังของเรื่องที่อยู่ในยุค 90, ภาพลักษณ์ที่โดดเด่นสะดุดตาของเหล่าทัพนักแสดงนำ, งานโปรดักชันที่ดูสมจริงสมจัง ฯลฯ
แต่อีกด้านหนึ่ง หลังจากที่ตัวอย่างถูกปล่อยออกมาไม่นาน ก็มีผู้ชมบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับการหยิบนำเรื่องราวของกลุ่มนักเรียนอาชีวะ
ซึ่งมักจะถูกสังคมมองในแง่ร้ายมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์อยู่เช่นกัน
วิเคราะห์หนัง 4 King หนังเรื่องนี้มีดีอย่างไรกับกระแสที่มาแรงทั่วประเทศ
ความน่าสนใจของเรื่องนี้จึงไม่ใช่แค่องค์ประกอบอันโดดเด่นของภาพยนตร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเนื้อหาในหนังด้วยว่าจะนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มนักเรียนอาชีวะออกมาในรูปแบบไหน
สำหรับหนังเรื่องนี้ผู้กำกับเคยถ่ายทำตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งมีความยาว 15 นาทีมาแล้วเมื่อประมาณ 7 ปีก่อน หลังจากนั้นจึงได้รับการต่อยอดให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดยาวในที่สุด
สำหรับเวอร์ชันภาพยนตร์ จะพาผู้ชมย้อนเวลากลับไปในปี 2538 เพื่อติดตามเรื่องราวของ บิลลี่ (จ๋าย-อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี) ดา (เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ) และ รูแปง (ภูมิ รังษีธนานนท์)
สามเพื่อนซี้จากอินทรที่ร่วมเป็นร่วมตายในการประจันหน้ากับสถาบันคู่อริมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น โอ๋ ประชาชล (นัท-ณัฏฐ์ กิจจริต), มด ประชาชล (โจ๊ก-อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ), เอก บุรณพนธ์ (ทู-สิราษฎร์ อินทรโชติ) และ บ่าง กนก (แหลม-สมพล รุ่งพาณิชย์)
ควบคู่ไปกับการพาผู้ชมไปสำรวจปัญหาต่างๆ ที่แต่ละคนต้องเผชิญ ไล่ตั้งแต่ บิลลี่ ที่ถูกครอบครัวไล่ออกจากบ้านเพราะชอบต่อยตีกับคนอื่นเป็นประจำ และ ดา ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวของแฟนสาว ฯลฯ
อย่างที่เรากล่าวไว้ในตอนต้นว่าความโดดเด่นของ 4KINGS ที่ชวนให้เรารู้สึกสนใจมากๆ คือองค์ประกอบต่างๆ ภายในเรื่อง ซึ่งเราคิดว่าผู้กำกับและทีมสร้างสามารถนำเสนอองค์ประกอบเหล่านั้นออกมาได้ค่อนข้างลงตัว
เริ่มต้นที่องค์ประกอบเล็กๆ อย่างการนำเสนอบรรยากาศของยุค 90 ทั้งบัตรจีบ, ตู้เพลง, โทรศัพท์บ้าน, เพจเจอร์, สมุดเพลง, เพลงยอดฮิตของวงหินเหล็กไฟ
ไปจนถึงคำพูดติดปากและมุกตลกต่างๆ ที่คนในยุคนั้นต่างคุ้นเคยออกมาได้ครบถ้วน และสำหรับผู้ชมที่ไม่ได้เติบโตมาในยุค 90 ก็จะได้สัมผัสกับมนตร์เสน่ห์ของยุคแอนะล็อกที่ไม่ได้มีให้เห็นแล้วในยุคนี้
ไปจนถึงการพาเราเข้าไปสำรวจบรรยากาศของบ้านเมตตา เพื่อนำเสนอว่าเหล่านักเรียนอาชีวะยุค 90 ที่ต้องเข้าไปอยู่ภายในนั้น
พวกเขาต้องพบเจอกับอะไรบ้าง อาหารที่กินเป็นอย่างไร สังคมภายในนั้นเป็นอย่างไร รวมถึงการลงโทษของผู้คุมที่ถูกนำเสนอออกมาได้อย่างสมจริง
และที่ชอบมากอีกประการคือการสร้างบทสนทนา หนังเรื่องนี้มีบทสนทนาที่ดีมาก ๆ เกิดขึ้นระหว่างความขัดแย้งของตัวละครที่คมคายมาก ๆ ไม่ใช่เพียงระหว่างศัตรู แต่ระหว่างลูกกับพ่อแม่ เพื่อนกับเพื่อน ครูกับศิษย์ คนรักกับคนรัก และแม้ตัวเรื่องมันจะเป็นอะไรที่ดราม่าเชย ๆ แบบที่เราเห็นในหนังสะท้อนสังคมแทบทุกเรื่อง ทว่าบทสนทนาในเรื่องกลับทำให้มันแตกต่างและน่าจดจำอย่างไม่น่าเชื่อ
และยังฉลาดในการใส่ตัวละครตัวป่วนที่เข้าไปปั่นสถานการณ์ให้วุ่นวายหนักข้อโดยไม่เลือกหน้าอย่างกลุ่มเด็กเจ้าถิ่นที่เรียกว่าเด็กบ้านที่นำแก๊งโดย ยาท เด็กบ้าน รับบทโดย บิ๊ก อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียล หรือ D Gerrard และเมื่อหนังแนะนำตัวละครสำคัญ ๆ ได้ครบ ทั้งยังให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครที่บ้างเป็นศัตรูอยู่ร่วมโลกไม่ได้ บ้างเป็นศัตรูที่ยอมรับให้เกียรติกัน บ้างก็เป็นมิตรที่อยู่คนละขั้วและต้องเลือกอยู่เสมอว่าระหว่างสถาบันกับเพื่อนน้ำหนักสิ่งไหนสูงกว่ากัน ซึ่งทำให้เนื้อหามันมีมิติความซับซ้อนที่ดีพอจะทำให้เกิดสถานการณ์ชวนเอาใจช่วยตัวละครมากมาย
และหนึ่งในองค์ประกอบที่เราชื่นชอบมากที่สุด คือการออกแบบคาแรกเตอร์ของตัวละครทุกตัวที่มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง ไม่มีใครโดดเด่นกว่าใคร ซึ่งเราต้องขอปรบมือให้กับนักแสดงทุกคนที่ถ่ายทอดคาแรกเตอร์ของแต่ละตัวละครออกมาได้อย่างมีมิติ ดูหนังฟรี
บทบาทนักแสดงภายในเรื่อง
เริ่มต้นที่ จ๋าย อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี นักร้องนำของวง Taitosmith ในบทบาทของบิลลี่
ที่ถูกครอบครัวผลักไสไล่ส่งเพราะชอบสร้างเรื่องเดือดร้อนอยู่เสมอ, เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ ในบทบาทของ ดา ที่รักและห่วงใยเพื่อนฝูงเหมือนเป็นครอบครัวของตัวเอง รวมถึง นัท-ณัฏฐ์ กิจจริต
และ โจ๊ก-อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ ในบทบาทของ โอ๋ และ มด ที่ถ่ายทอดความน่าเกรงขามและความไม่กลัวใครออกมาได้อย่างมีเสน่ห์
ส่วนนักแสดงที่เราชื่นชอบมากที่สุดและอยากกล่าวถึงเป็นการส่วนตัวคือ ภูมิ รังษีธนานนท์ ในบทบาทของ รูแปง ที่เรียกว่าเป็นตัวแย่งซีนประจำเรื่องก็คงจะไม่ผิดนัก ทั้งฝีปากและท่าทางยียวนกวนประสาท คำคมต่างๆ นานาที่ดูเหมือนจะมากเกินความพอดี
แต่กลับลงตัวอย่างน่าประหลาด ไปจนถึงความใจกล้าบ้าบิ่นและความคมเข้มของเขาเมื่อต้องเผชิญกับคู่อริ ภูมิก็นำเสนอออกมาได้ดีไม่แพ้กัน เรียกได้ว่าการแสดงของภูมิในบทบาทของรูแปง คือตัวละครที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อย่างน่าจดจำ
เมื่อองค์ประกอบต่างๆ ถูกนำเสนอออกมาได้อย่างลงตัว มันจึงยิ่งส่งผลให้แกนหลักสำคัญของภาพยนตร์ที่ผู้กำกับและทีมสร้างต้องการจะนำเสนอทรงพลังมากขึ้นเป็นเท่าตัว
นั่นคือการพาผู้ชมไป ‘ทำความรู้จัก’ และ ‘ทำความเข้าใจ’ เหล่านักเรียนอาชีวะยุค 90 ผ่านบริบทต่างๆ ที่พวกเขาต้องพบเจอ มากกว่าที่จะพาเราไปหาคำตอบว่าทำไมพวกเขาถึงตีกัน
ยกตัวอย่างเช่น เราจะได้เห็นว่าครอบครัวของบิลลี่เลือกที่จะกระทำกับตัวของบิลลี่อย่างไร
แล้วมันส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมของบิลลี่อย่างไร และสิ่งเหล่านี้มันส่งผลมาถึงความสัมพันธ์ระหว่างบิลลี่กับดาและลูแปงอย่างไร
ขณะเดียวกัน ผู้กำกับอย่างพี่พุฒิก็ไม่ได้นำเสนอเรื่องราวของเหล่านักเรียนอาชีวะเพียงแง่มุมเดียวเท่านั้น
เพราะพี่แกยังนำเสนอให้ผู้ชมได้เห็นด้วยว่า การกระทำของทุกตัวละครภายในเรื่องมันส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนรอบข้างอย่างไร ผลของการกระทำเหล่านั้นมันส่งต่อความคิดและความรู้สึกของพวกเขาอย่างไร
และพวกเขาจะจัดการแก้ไขและเรียนรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร
จุดเด่นของหนังคือการได้เด็กช่างตัวจริงที่ไปคลุกวงในเด็กช่างเด็กเทคนิคยุค 90s มาจริง ๆ จนได้วัตถุดิบที่สมจริงมาปรุงการเล่าเรื่อง แต่ละรายละเอียดในหนังเป็นการผสมผสานหลากหลายชีวิตและบทเรียนจากคนมากมายกว่าจะนำมาผูกสร้างเป็นตัวละครแต่ละตัว แม้จะยืนพื้นจากบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงและหลายคนก็ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ทว่าผู้กำกับก็ฉลาดพอที่จะทำให้มันเป็นเรื่องแต่งเพื่อไม่ให้กระทบคนจริง ๆ ที่ว่ามา และในแง่ดีคือมันใส่ลูกขยี้ลูกดราม่าชีวิตบัดซบให้ตัวละครได้มากขึ้นด้วย
ท้ายที่สุด ไม่ว่าจะมีเหตุผลที่หนักแน่นขนาดไหนมารองรับ การทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะล้วนเป็นการสร้างความเดือดร้อนและบาดแผลทั้งกายและใจแก่คนรอบข้างอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
แต่ถ้าหากเราต้องการจะหาคำตอบจริงๆ ว่าอะไร ที่ทำให้พวกเขาเลือกเดินในเส้นทางสายนี้ และ ทำไมพวกเขาถึงรักเพื่อนพ้องและสถาบันมากขนาดนี้ มากซะกว่าชีวิตและครอบครัวของตัวเองเสียอีก
การได้ลองเข้าไปสำรวจเรื่องราวในทุกแง่มุมของพวกเขาเพื่อ ทำความเข้าใจ ก็ดูจะเป็นหนทางที่เหมาะสม ในการพาเราไปสู่ต้นตอของปัญหาและค้นหาวิธีการแก้ไขอย่างถูกต้อง มากกว่าการตัดสินพวกเขาเพียงแค่เปลือกนอก
และภาพยนตร์เรื่อง 4KINGS ก็ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่นั้น
และนี่คือสิ่งสำคัญมาก ใครที่กำลังตัดสินใจไปดู ต้องเข้าใจก่อนเลยว่าหนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังแอ็กชันแบบเด็กเกเรตีกันแบบพวกหนังเด็กนักเรียนญี่ปุ่นที่วัยรุ่นกำลังนิยม แต่มันคือหนังดราม่าหนังชีวิตที่เข้มข้นมาก ๆ และความรุนแรงด้านภาพก็ไม่ได้เป็นส่วนสำคัญเลย เพราะความรุนแรงต่ออารมณ์และความรู้สึกผู้ชมนั้นมันสาหัสสากรรจ์กว่ามาก ๆ ต่อให้เป็นผู้ชายแมน ๆ ยังไง คุณก็มีโอกาสโดนสักฉากในหนังที่ทำเอาน้ำตาร่วงได้แน่นอน นี่จึงเป็นหนังอีกเรื่องที่ดูแล้วจะอยากบอกต่อใครสักคนเลยว่า ของมันดีจริงๆ
ทางด้านการแสดง ถ้าไม่ติดที่หน้าตาเกินอายุไปหน่อย เพราะในหนังบอกว่าอายุ 17 ปี ซึ่งควรเป็นเด็กวัยมัธยมปลาย แต่ละคนที่ว่าคัดเลือกมาได้ดีมากเลย ทั้ง จ๋าย ไททศมิตร, เป้ อารักษ์, ภูมิ รังษีธนานนท์, โจ๊ก อัครินทร์, ณัฏฐ์ กิจจริต, ทู สิราษฎร์, แหลม 25 Hours และ บิ๊ก D Gerrard ถึงแม้หนังจะเน้นไปที่ฝั่งอินทรอาชีวะ กับตัวละครของ จ๋ายและเป้ แต่การแสดงของทุกคนในแต่ละฉากก็ทำออกมาได้ดีไม่ได้ด้อยไปกว่ากันเลย แม้พี่แหลมจะออกมาไม่กี่ฉากก็เท่กวนส้นไม่ใช่เล่น ยิ่งพี่บิ๊ก D Gerrard ที่เรียนได้ยียวนกวนประสาทได้แบบโคตตรสุด ก็เป็นตัวละครที่แบบไม่มีไม่ได้ เล่นได้บ้าดี ทีมนักแสดงถือว่าทำได้ดีทุกคนเลยสำหรับเรื่องนี้
สรุปโดยรวมแล้ว หนังเรื่อง 4 kings อาชีวะยุค 90 เป็นหนังที่ตั้งใจทำเพื่อบอกว่าปลายทางของเส้นทางสายนี้มันไม่ได้สวยงามและเท่ดังที่วาดฝันไว้ และมันก็ทำดราม่าแต่ละประเด็นได้โคตรตึง และกระชากวิญญาณชายไทยจนสมองสั่น ทำได้มีหัวจิตหัวใจสุด ๆ ถ้าใครดูเรื่องนี้จบแล้วยังจะมีอารมณ์ฮึกเหิม เลือดสูบฉีดอยากตีกัน ก็บ้ามากแล้ว แต่ก็นะ น่าเสียใจที่ยังบ้าคิดไม่ได้อยู่ ตัวบทดี อาจมีสงสัยถึงแบบชะตากรรมตัวละครแต่ละตัวนิดนึง หรือติดตรงการคัทฉากที่น่าจะขยายได้อีก ลดบางซีนขยายอีกบางซีนน่าจะเยี่ยมมาก แต่แค่นี้ก็ถือว่าดีแล้ว ส่วนนักแสดงก็อยู่ในระดับดี โปรดักชันถ่ายทำก็ดีไม่แพ้กัน เรียกได้ว่า เป็นหนังความยาว 2 ชั่วโมงกว่าที่คุ้มค่าแก่การดูด้วยประการทั้งปวง
หากชอบบทความนี้ สามารถติดตาม รีวิวหนัง สปอยหนัง เรื่องอื่นๆได้ที่ สปอยหนังดี