รีวิว Fight Club หนังที่ถูกพูดถึงกันอย่างมาก หนังปรัชญาสุดดิบ หักมุมสุดว้าว และเสียดสีสังคมอย่างสุดเจ็บแสบ ปวดร้าว หนังเล่าถึงชายคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตวนลูปไปกับการทำงานซ้ำแล้วซ้ำเล่า พร้อมกับอาการนอนไม่หลับหลายเดือนที่ทำให้ชีวิตเขาดูซอมซ่อเต็มที วันนึงเขามีโอกาสได้รู้จักกับ ‘ไทเลอร์’ ผู้ทำให้เขาได้พบ ‘FIGHT CLUB’ และนั่นจะเปลี่ยนชีวิตเขาไปตลอดกาล เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามชมที่ ดูหนังฟรี4k

เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่ก่อนหน้านี้ผมอยากดูมาก และสุดท้ายก็หาโอกาสได้ดูจนได้ เรียกได้ว่าที่ผ่านมาโดนสปอยมาหมดแล้วล่ะว่าเรื่องราวมันเป็นยังไง แต่ถึงขนาดว่าขนาดโดนสปอยจุดสำคัญของเรื่องมาแล้ว ตอนจบก็ยังพีคสุดๆจนขนลุกอยู่ดี ซึ่งเป็นหนังที่จบแบบหักมุมและคาดคิดไม่ถึงเหมือนกันว่าเรื่องมาขมดปมเฉลยได้หักมุมขนาดนี้ เป็นผลงานการกำกับของผู้กำกับหนังสายระทึกขวัญ ตัวบอสของวงการอย่าง David Fincher ที่ได้สองดาราดังสุดฮ็ฮตตลอดกาลอย่าง Edward Norton และ Brad Pitt มาแสดงนำ เรื่องนี้พูดได้ดีเยี่ยม สำหรับประเด็นทุนนิยม เรียกได้ว่าเป็นสะท้อนความเป็น ทาสทุนนิยม และตัวเอกนี่บ้าซื้อของมาก แต่ละชิ้นมีแต่แพงๆ แถมก็ยังเป็นโรคป่วยทางจิตอีก พล๊อตเรื่องน่าสนใจจริงๆ

 

รีวิว Fight Club-1

 

Fight Club (1999) หนังเรื่องนี้ของเดวิด ฟินเชอร์ เป็นหนังเรื่องที่ผมชอบที่สุดในชีวิตมาตลอดนับตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ดู เวลาเล่นกับเพื่อนๆในสมัยนั้น มีกฎข้อที่หนึ่งคือห้ามพูดถึง Fight Club รวมทั้ง ความดิบ เถื่อน เท่ สะใจ จนอยากลุกขึ้นมาชกหน้าใครสักคน การรวมกลุ่มบำบัดที่ทำให้เราอยากร้องไห้ การทำระเบิดจากสบู่ การเฉลยตอนจบ และประเด็นที่หนังพยายามวิพากษ์วิจารณ์การต่อต้านระบบทุนนิยมและวัตถุนิยมได้อย่างน่าสนใจ
เท่าที่พอจำได้ เราน่าจะหยิบ Fight Club กลับมาดูหลายครั้ง ก็จะให้ความรู้สึกที่ดีไม่ต่างจากเดิม สุดยอดหนังในยุคนั้นเลย

ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลที่เราหยิบหนังเรื่องนี้มาดูซ้ำๆ เพื่อตอกย้ำและปลอบใจชีวิตที่แสนจำเจของตัวเอง และแล้วช่วงเวลาของหนังเรื่องนี้ก็ผ่านไป 20 ปี ทิ้งช่วงจากครั้งสุดท้ายประมาณ 3 ปี ทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจพิจารณาอะไรเป็นพิเศษ แต่ก็ยังชอบเนื้อเรื่อง ความดิบเถื่อน องค์ประกอบภาพ และมุมกล้องเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่กับประเด็นเรื่องการต่อสู้กับระบบทุนนิยมเท่านั้นที่รู้สึกว่าเรามองเห็นแง่มุมอะไรบางอย่างที่แตกต่างออกไป โคตรจะลึกซึ้งเลยครับ

ไม่รู้ว่าทั้งผู้กำกับ ผู้เขียนบทคิดอะไรอยู๋ ถึงได้ออกแบบ Fight Club นี่ออกมาเป็นหนังให้เราดูได้แบบนี้ ทุกอย่างในหนังมันเท่ไปหมด มันเป็นความเท่แบบดิบ เถื่อน แต่น่ามอง ไม่ว่าจะเป็นโทนสี ภาพ มุมกล้อง การเล่าเรื่อง หรือแม้แต่บทที่ออกมาจากปากของตัวละคร ทุกอย่างมันลงตัวจนเหมือนหนังเองได้สร้าง ‘ความเป็น fight club’ ในตัวเองขึ้นมา อยากเข้าร่วมไฟต์คลับ ต้องตามไปดูที่ ดูหนังออนไลน์

 

รีวิว Fight Club-2

 

เปิดเรื่องมาด้วยชายหนุ่มนิรนาม พนักงานออฟฟิศ ชนชั้นกลาง ที่รู้สึกว่าชีวิตตัวเองแสนน่าเบื่อ ต้องทำงานซ้ำๆ ไร้ความท้าทาย จนคิดว่า ออกมาจากต้นแบบเดียวกัน กลายเป็น ‘มนุษย์ก๊อบปี้’ จำนวนมากที่มีความฝันคล้ายกัน ทำอาชีพคล้ายกัน แต่งกายและใช้สิ่งของที่ออกมาจากโรงงานเดียวกัน ถูกกรอบบางอย่างบังคับให้เราต้องเป็นหรือต้องมีเหมือนคนอื่นๆ และรู้สึกโศกเศร้าเมื่อสิ่งของผุพัง ทั้งที่ไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่านั่นคือสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตเราจริงๆ หรือเปล่า บทบาทของ พี่เอ็ดเวิร์ด และ แบต พิตต์ ใน หนังเรืองนี้ นั้นดีมากๆ เราชอบสายตาและท่าทางของเอ็ดเวิร์ดมาก เขาสามารถส่งความหมดอาลัยตายอยากในชีวิตออกมาในตอนต้นเรื่อง และค่อยๆ พัฒนาพาตัวละครของตัวเองไปจนถึงความคลั่งขั้นสุดได้อย่างเป็นธรรมชาติ เว็บดูหนังฟรี

จนวันหนึ่งเกิดเหตุให้ชีวิตของเขาไม่เหลืออะไรสักอย่าง และได้เจอกับ ไทเลอร์ เดอร์เดน แสดงโดย แบรด พิตต์ ชายหนุ่มหล่อเท่ผู้ไม่ยึดติดกับวัตถุใดๆ สักอย่าง ชวนมาแลกหมัด ถอดเนกไทที่รัดคอ ได้เห็นเลือดสดๆ ไหลออกมาจากปาก ได้รับการปลดปล่อย ผ่อนคลายสบายใจ ในแบบที่กลุ่มบำบัดชนิดไหนก็มอบให้ไม่ได้ สำหรับ Brat Pitt เรื่องนี้เท่มาก! เป็นหนังที่เรามองว่าแบรดพิตต์เท่ที่สุดตั้งแต่เคยดูมา เขาดูเหมือนหัวหน้าฝูงหมาป่าอะไรทำนองนั้น ไม่แปลกใจทำไมถึงกลายมาเป็นไทเลอร์ได้และชวนกันก่อตั้ง ชมรมมวยใต้ดินที่เปิดโอกาสให้คนแปลกหน้าที่รู้สึกถูกกดขี่และมีชีวิตแสนจำเจได้มาปลดปล่อย ระบายอารมณ์กันแบบหมัดต่อหมัด

จนภายหลังขยายตัวเป็นแก๊งอาชญากรรมที่วางแผนทำลายระบบทุนนิยม สถาบันการเงิน และธนาคารยักษ์ใหญ่ให้พังทลายเพื่อรีเซตให้ทุกคนในสังคมเท่ากันหมด ไร้หนี้สิน ไม่มีใครร่ำรวยกว่าใคร และเรื่องราวทั้งหมดนี้ก็ได้เกิดขึ้นเป็น Fight Club สุดเท่ สุดอันตรายนี้ขึ้นมา

 

 

รีวิว Fight Club สุดยอดหนังบู๊ แนวอาชญากรรม

ในช่วงแรกที่หนังเข้าฉาย ไม่ว่าจะด้วยการโปรโมตหนังที่ล้มเหลวของฝ่ายการตลาดที่ไม่อาจทำให้คนเข้าใจเมสเสจของหนังได้ทั้งหมด จนเสียงของคนดูแตกออกเป็นสองฝ่ายที่ถ้าไม่รักก็เกลียด Fight Club ไปเลย ซึ่งแน่นอนว่าเรายืนอยู่ฝั่งคนที่รักหนังเรื่องนี้แบบสุดหัวใจ และไม่เคยเข้าใจว่าทำไมถึงมีคนเกลียดหนังเรื่องนี้ได้ลง แต่เมื่อถอยตัวเองออกมาสักหน่อย เราจึงได้เห็นมุมมองบางอย่างว่ายังมีคนอีกมากมายที่ยอมรับระบบทุนนิยมและมีความสุขที่ได้หา ‘วัตถุ’ ต่างๆ มาปรนเปรอตัวเอง แล้วจะแปลกอะไรถ้าคนเหล่านั้นจะรู้สึกไม่ชอบการที่หนังพยายามนำเสนออีกด้านหนึ่งที่พวกเขาไม่อยากรับรู้
จะผิดอะไรถ้าหลายคนจะมองเห็นว่าเมื่อระบบทุนนิยมเปิดโอกาสให้แข่งขัน

 

 

ก็ควรจะสู้ตามกลไกของตลาดให้สมศักดิ์ศรีและถีบตัวเองให้สูงที่สุด แต่ก็ไม่ผิดอีกเช่นกันที่อีกหลายคนจะมองว่าโลกของทุนนิยมที่บอกว่าเป็นการแข่งขันเสรี แท้จริงแล้วเป็นเพียง ‘เสรีภาพ’ ของคนที่ถูกรับเลือกให้เข้าแข่งขัน ส่วนที่เหลือเป็นได้เพียงแค่ เครื่องมือในการขับเคลื่อน ในสายพานการผลิตที่ไม่มีวันเติบโตในเมื่อพวกเขาไม่สามารถต่อสู้เพื่อยืนยันตัวตนได้ในสนามที่หลายคนบอกว่าปกติ จะมีก็แต่สนาม Fight Club ใต้ดินที่สู้กันด้วยกำปั้น ฟันหัก เลือดสาดกระจาย

ที่ช่วยยืนยันได้ว่าพวกเขามีชีวิต มีเลือดเนื้อ มีความหวังหลงเหลืออยู่ตรงนี้จริงๆ แต่เมื่อกลับไปใช้ชีวิตบนดินตามปกติ ถ้าไม่นับการเอาความลับไปแบล็กเมลเจ้านายเพื่อขู่เอาเงินเดือนของพระเอก การฉีดน้ำใส่ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ การทำลายข้าวของ ลักเล็กขโมยน้อย การได้กลั่นแกล้ง หัวเราะเยาะ มองคนด้านบนด้วยสายตาเย้ยหยันได้เป็นครั้งแรกในชีวิต และอืนๆอีกมายมาย

พวกเขาก็ยังได้แต่ใช้ชีวิตไม่โดนบิดปากไม่ให้เรียกร้องอะไร ก้มหน้าทำงานที่แสนน่าเบื่อ เพื่อรอให้ถึงเวลากลางคืนที่จะได้จับคู่ชกกับใคร ตั๊นหน้ามันแรงๆ แล้วจินตนาการว่าสิ่งที่เขาสู้อยู่คือระบบทุนนิยมน่ารังเกียจ และหวังว่าตัวเองจะได้เป็นผู้ได้รับชัยชนะไปครอบครอง

 

 

หนังเรื่องนี้ให้อะไรเราบ้าง

มองในแง่นี้ Fight Club เป็นเพียงพื้นที่ให้ทุกคนได้ ผ่อนคลายและปลดปล่อย ความกดดัน ความเครียด และสัญชาตญาณดิบออกมาเพียงชั่วครู่เพื่อป้ายความผิดให้กับระบบที่ไม่อาจต่อกร โดยที่สุดท้ายก็ไม่อาจ ‘เปลี่ยนแปลง’ โครงสร้างที่กดทับพวกเขาไว้ได้อยู่ดีที่เจ็บปวดที่สุดคือฉากที่ไทเลอร์ผู้เป็นตัวแทนของความขบถ ต่อต้านทุนนิยมและวัตถุนิยม กับ มาร์ลา ซิงเกอร์ (รับบทโดย เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์) ตัวละครที่เปรียบเสมือน ‘เนื้อร้าย’ ของระบบทุนนิยมที่คอยหลอกหลอนให้พระเอกนอนไม่หลับ ในตอนแรกกลับมาร่วมรัก นะบายอารมณ์ กันอย่างรุนแรง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนถึงจุดสุดยอดนับครั้งไม่ถ้วน

การหลอมรวมเป็นหนึ่งระหว่าง ‘การต่อต้าน’ และ ‘เนื้อร้าย’ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ระบบทุกอย่าง พังราบเป็นหน้ากลอง ‘กระสุน’ นัดสุดท้าย ที่ลั่นออกไป จึงเป็นได้ทั้งตัวแทนของการเริ่มต้นใหม่ หรือเป็นตัวแทนของการ ‘จำนน’ ต่อระบบที่ไม่อาจต่อต้าน และยอมรับว่าเป็นได้เพียงส่วนหนึ่งของมันเท่านั้น ถึงแม้ว่าในหนังจะไม่ได้บอกว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบที่พังลงไปต่อจากนั้น แต่เราเชื่อว่าสุดท้ายระบบทุนนิยมก็จะกลับมาแข็งแกร่งไม่ต่างไปจากเดิม หรืออาจจะมากขึ้นด้วยซ้ำ

 

 

อย่างน้อยการตั้งชมรม การต่อสู้ลูกผู้ชายขึ้นมาในหลายๆ ประเทศเพื่อให้ปลดปล่อยด้วย ความรุนแรงผ่านการต่อสู้ กันจริงๆ ก็นับว่าเป็นอิทธิพลดีๆ ที่หนังเรื่องนี้สร้างเอาไว้ ส่วนชีวิตของเราและอีกหลายคนหลังจาก Fight Club จบลงไปแล้ว 20 ปีก็ไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก เรายังหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาอัปเดตชีวิต ในมุมดีๆ ของเพื่อนคนอื่นๆ พร่ำบ่นปัญหาที่ไม่อาจแก้ไข นั่งมองสิ่งของต่างๆ ออกรุ่นใหม่ๆ ใช้เงินซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ไม่ได้ใช้ แล้วปลอบใจตัวเองด้วยการลงรูปติดแฮชแท็กว่า ของมันต้องมี 55555 หรือถ้ามีเวลาว่างก็ปิดหน้า สร้างร่างอวตาร หาคู่ชกด้วยคีย์บอร์ด และความคิดคมๆ ในโซเชียลมีเดีย แล้วก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะโลกสอนให้เรารู้ว่า ในบางครั้งชีวิตก็อนุญาตให้เราทำได้เพียงเท่านี้ ไม่ใช่ไปท้าต่อยตีกับใครในคลับใต้ดิน อะไรประมาณนั้นครับ

สิ่งที่ชอบที่สุดเกี่ยวกับตัวละครคือซีนชกต่อยกันในหนังเรื่องนี้ ไม่รู้ว่าเพราะอะไรแต่มันดิบได้ใจมากจริงๆ เหมือนกับห้องใต้ดินนั้นมันเต็มไปด้วยฮอร์โมนเพศชายที่พลุ่งพล่าน ความกระหาย และอารมณ์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาผ่านการต่อสู้ เรามองเห็นสาเหตุที่คนกลุ่มนึงเลือกที่จะมารวมตัวกันระบายความอัดอั้นตันใจและความเฮงซวยในชีวิตยามเช้าของพวกเขาผ่านห้องใต้ดินนี่ผ่านอารมณ์ที่ครุกกรุ่นอยู่ในนั้น

 

 

ผมรับรู้มันได้ผ่านทางหน้าจอซึ่งมันอัศจรรย์และมีพลังมากๆ สำหรับผมในชีวิตจริงของผู้เล่าเรื่องไม่สามารถทำอะไรในแบบที่ไทเลอร์ทำได้เลย และมันมีคนอีกมากมายในสังคมที่เป็นแบบนี้ ผู้ตกอยู่ใต้อำนาจของระบอบบางอย่างจนไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใครอีกต่อไป Fight Club คือสถานที่ที่ผู้คนสามารถระบายความรู้สึกต่ำต้อยและไร้ซึ่งความหมายนั้นออกไป

ที่นี่ไม่ต้องสวมเสื้อ ไม่ต้องสวมเครื่องประดับ ทุกคนมีโอกาสแพ้ มีโอกาสชนะ ได้เป็นผู้ถูกมองเห็น (สู้กันได้ครั้งละคู่ ตัวต่อตัว และคนมาใหม่จะต้องสู้ในคืนนั้น มันทำให้ทุกคนมีสปอร์ตไลต์โมเม้นของตัวเอง) จึงไม่แปลกใจว่าทำไมถึงมีคนเข้ามารวมกลุ่ม และจงรักภักดีต่อกลุ่มมากขนาดนี้ รีวิวหนังออนไลน์