รีวิวและสปอย Squid Game

เป็นซีรีส์ที่เล่าเรื่องการแข่งขันเอาตัวรอดของผู้เล่น 456 คน เพื่อเงินรางวัล 45,600 ล้านวอน โดยพวกเขาต้องเอาชนะเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กเกาหลีใต้ และมีชีวิตรอดเป็นคนสุดท้ายให้ได้ หากทำผิดกฎหรือแพ้ในเกมนั้น ๆ จะต้องจบชีวิตลงทันที ดูหนังออนไลน์

 

รีวิวและสปอย Squid Game

 

ขอบอกว่า เรื่องใหม่มาแรงที่ขึ้นอันดับหนึ่งในหลายๆ ประเทศ แถมยังทำลายทุกสถิติจนมียอดผู้ชมมากที่สุดบน Netflix อย่าง Squid Game สควิดเกม เล่นลุ้นตาย ขนาดเจ้าของกระทู้ที่ไม่ชอบตามกระแสมากนักยังอดใจไม่ดูไม่ไหว

เมื่อมองผ่าน Squid Game อาจดูเหมือนซีรีส์แนวเซอร์ไววัลธรรมดาทั่วไป ด้วยเรื่องที่ว่าด้วยการแข่งขัน เพื่อชิงเงินรางวัล 45,600 ล้านวอน ที่เดิมพันด้วยชีวิตในเกมเด็กเล่น 6 ด่าน แต่ Squid Game มีความแตกต่างด้วย บทที่ไร้ความปราณี ความง่ายของกติกาที่ทำให้เกมน่ากลัวกว่าเดิม งานอาร์ตไดเรกชั่น มุมกล้อง และการจัดแสงที่โดดเด่น เพลงประกอบที่ชวนกดดันและเพิ่มความเหนือจริง และความหมายแฝงที่อัดแน่นในทุกอณูทำให้ยิ่งดูยิ่งเห็นภาพของชีวิตจริงซ้อนทับกับเหตุการณ์ในเรื่อง เพราะทุกด่านและกฏกติกาต่างเป็นภาพสะท้อนของโลกภายนอก

เนื้อเรื่องย่อ สังคมมันดี แต่ชีวิตมันห่วย เรื่องราวเริ่มมาจากชีวิตสุดห่วยของ ซองกีฮุน พระเอกของเรื่อง ที่ไม่มีอะไรเลย ใช้ชีวิตแบบเกาะแม่กิน ชีวิตครอบครัวล้มเหลว ต้องแยกกันกับลูก ส่วนภรรยาก็ไปมีครอบครัวใหม่ เป็นชนชั้นแรงงานระดับล่าง แถมยังต้องเสี่ยงดวงเพื่อให้มีชีวิตรอด

โดยการนำเงินที่หามาได้เพียงน้อยนิดไปเล่นการพนัน แม้เขาจะได้เงินมาจากการพนันจำนวนหนึ่ง แต่ดูหนี้สินที่เยอะเกินบรรยายทำให้เจ้าหนี้มาตามทวงหนี้ไม่หยุด แถมเงินที่พนันมาได้ก็โดนขโมยไปเสียนี้

และชีวิตที่ห่วยสุด ๆ ก็ทำให้ไปเจอกับชายแปลก ๆ คนหนึ่งที่ยื่นข้อเสนอให้แข่งเกมกับชายคนนั้นถ้าเขาชนะเกมจะได้เงิน ซองกีฮุนจึงตัดสินใจเล่นและก็ได้เงินจริง ๆ ชายคนนั้นก็ให้นามบัตรมาแล้วให้ซองกีฮุนโทรไปถ้าอยากได้เงินจำนวนมหาศาล ติดตามชมที่ ดูหนังฟรี

 

รีวิวและสปอย Squid Game -1

 

รีวิวและสปอย Squid Game สิ่งจำให้ให้คุณดูซีรี่ส์เรื่องนี้สนุกมากขึ้น มีสปอย

สิ่งที่ควรรู้ก่อนดูคือเมื่อทุกคนเข้าไปอยู่ในเกม ทุกคนจะได้ใส่เครื่องแบบสีเขียวที่มีหมายเลขประจำตัว กินนอนและใช้ห้องน้ำรวมกันในโถงคล้ายโรงยิม โดยมีเจ้าหน้าที่ใส่ชุดสีชมพูและหน้ากากปกปิดตัวตน โดยมีหน้าที่แตกต่างกันตามสัญลักษณ์บนหน้ากาก ดูหนัง

พวกแรกคือ วงกลม หมายถึงแรงงานทั่วไป คอยนำทางผู้เล่นไปสู่เกม แจกจ่ายอาหารเครื่องดื่ม พวกต่อมาคือ สามเหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นทหาร มีอาวุธในมือเพื่อใช้ปลิดชีพผู้เล่นที่ตกรอบ และพวกสุดท้ายคือ สี่เหลี่ยม เปรียบเสมือนผู้จัดการ คอยควบคุมทุกอย่างให้มีความสงบเรียบร้อย โดยกลุ่มเจ้าหน้าที่ชุดชมพูจะรับคำสั่งจากหัวหน้าคือ ฟรอนต์แมน (Front Man) หรือชายผู้สวมหน้ากากสีดำนั่นเอง

 

รีวิวและสปอย Squid Game -2

 

แม้จะมีซีรีส์แนวเอาชีวิตรอดมามากมายหลายเรื่องแล้วก็ตาม แต่ความแปลกใหม่ของ Squid Game อย่างแรกคือการนำเกมและการละเล่นสมัยเด็กมาพลิกโฉมให้มีความโหดและป่าเถื่อนมากขึ้น เรียกว่าทำลายความทรงจำวัยเด็กที่เคยงดงามให้แหลกสลายกันเลยทีเดียว

ในซีรีส์เราจะได้เห็นการละเล่นที่เราต่างคุ้นเคยกันดีทั้งหมด 6 เกมที่มีกติกาแตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดล้วนออกแบบขึ้นมาเพื่อทำให้ผู้เล่นค่อย ๆ ตายไปทีละคนจนท้ายสุดเหลือผู้ชนะเพียงคนเดียว โดยไฮไลต์คือด่านสุดท้ายซึ่งใช้เกมปลาหมึกตามชื่อเรื่องมาประลองหาผู้ชนะ ส่วนที่เหลือจะมีเกมอะไรบ้างคงต้องไปดูกันเอาเองจะได้ลุ้นไปทีละตอน

อย่างต่อมาที่น่าสนใจคือกติกาเข้าร่วมการแข่งขัน โดยผู้เล่นทุกคนไม่มีใครรู้มาก่อนว่าเกมนี้จะต้องแลกด้วยชีวิตจนกระทั่งเกมแรกจบลง ต่างกับเรื่องอื่นที่มีการบอกกติกาล่วงหน้าว่าถ้าแพ้ต้องตาย อยากเสี่ยงก็มา ไม่อยากเสี่ยงก็กลับไป ดังนั้นความตื่นเต้นของ Squid Game จึงมาจากความไม่รู้ดังกล่าว ผู้เล่นหลายคนไปเผชิญความตายแบบไม่รู้ตัวในเกมแรก เสมือนเป็นการอุ่นเครื่องให้เข้าใจกติกาแต่รู้ตัวอีกทีก็มีคนตายไปหลายร้อยศพแล้ว

ผู้เล่น (ชุดเขียว) คือคนที่เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัลมหาศาลในครั้งนี้มีทั้งหมด 456 คน มีหน้าที่ เล่นเกมเพื่อให้รอดชีวิต ชนะเข้ารอบ แพ้ตาย มีคนคอยเก็บศพใส่โลงพร้อมเผาให้เสร็จสรรพ

เจ้าหน้าที่ (ชุดสีชมพูและหน้ากากปกปิดตัวตน) เป็นคนที่คอยดูแลและจับตาดูผู้เล่น โดยมีหน้าที่แตกต่างกันตามสัญลักษณ์บนหน้ากาก

พวกแรกคือ วงกลม หมายถึงแรงงานทั่วไป คอยนำทางผู้เล่นไปสู่เกม แจกจ่ายอาหารเครื่องดื่ม

พวกที่สองคือ สามเหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นทหาร มีอาวุธในมือเพื่อใช้ปลิดชีพผู้เล่นที่ตกรอบ

และพวกสุดท้ายคือ สี่เหลี่ยม เปรียบเสมือนผู้จัดการ คอยควบคุมทุกอย่างให้มีความสงบเรียบร้อย

ส่วนฟรอนต์แมน หรือ หน้ากากดำ เป็นหัวหน้าและคนออกคำสั่งพวกชุดชมพู ทำหน้าที่ในการควบคุมเกมทั้งหมด มีอำนาจในการดูแล ควบคุม และปรับเปลี่ยนกติกาได้

 

 

คน 456 คน ที่ชีวิตจนตรอกสุด ๆ มารวมกันเพื่อเล่นเกม ณ ที่แห่งนี้พวกเขาจะได้เล่นเกมจำนวน 6 เกม มีเงินเดิมพันทั้งสิ้น 45,600 ล้านวอน บนกติกาที่แสนง่ายดาย หากชนะเอาเงินไป หากแพ้ก็แค่ต้องตายเท่านั้นเอง เขาบอกว่าเกมนี้แข่งขันอย่างยุติธรรม

ซองกีฮุน No.456 – ตัวแทนของชนชั้นแรงงาน (blue collar) เรียนไม่จบมัธยม ถูกให้ออกเพราะบริษัทต้องการลดคน พยายามทำธุรกิจแต่ก็เจ๊ง ติดหนี้หัวโต ครอบครัวแตกแยก

โจซังอู No.218 (รับบทโดย พัคแฮซู) – ตัวแทนของพนักงานออฟฟิศ (white collar) บ้านไม่มีฐานะนัก เรียนจบมหาวิทยาลัยชั้นนำ และต้องการหนีให้พ้นชีวิตของชนชั้นกลางแต่ก็ล้มเหลว

อาลี No.199 (รับบทโดย อนุพัม ตรีปาที) – ตัวแทนของแรงงานต่างด้าว ชนชั้นล่างสุดในปีรามิด

ทุกคนเท่าเทียมกันในเกมนี้ผู้เล่นทุกคนแข่งขันกันอย่างยุติธรรมภายใต้เงื่อนไขเดียวกันพวกเขาทรมานจากความไม่เท่าเทียมและการแบ่งแยกจากโลกภายนอกเราให้โอกาสสุดท้ายที่จะต่อสู้อย่างเท่าเทียมและเอาชนะได้แก่พวกเขา

 

 

จุดเด่นที่ทำให้ซีรี่ส์เรื่องนี้มีความน่าสนใจ

Squid Game เป็นซีรีส์ที่ใช้จิตวิทยาและการเสียดสีสังคม ซีรี่ส์เกาหลียังเป็นเล่นกับชนชั้นวรรณะทางสังคมได้อย่างยอดเยี่ยมตามเคย เพราะการเลือกคน 456 คนที่เป็นชนชั้นล่างหนทางมืดมิด ชนชั้นกลางที่ชีวิตห้อยอยู่บนเส้นด้าย พวกเขาไม่มีหนทางทำกินมีหนี้มหาศาลและแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฏหมาย บุคคลเหล่านี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับพวกเขา แทบจะไม่มีคนออกตามหาหรือเมื่อพวกเขาไปแจ้งความตำรวจก็จะไม่เชื่อสิ่งที่พูด ดูหนัง

เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากการเล่นเกมในเรื่องมันบ้ามาก และคำพูดของคนเหล่านี้ไม่มีค่าไม่มีความหมายอะไรในสังคม เมื่อพวกเขาพูดอะไรออกไปก็เหมือนจะเป็นเรื่องเหลวไหล

 

 

หากเปรียบผู้เข้าแข่งเป็นประชาชน เจ้าหน้าชุดชมพูและฟรอนท์แมนคือรัฐ วีไอพีที่มาจากหลายชาติ ก็อาจจะสื่อถึงกลุ่มธุรกิจใหญ่หรือแชโบลที่แทบจะเรียกได้ว่าครอบครองประเทศในเกาหลีใต้และทุนต่างชาติจากประเทศมหาอำนาจที่คอยชักใยทุกอย่างอยู่เบื้องหลังในจุดที่สูงกว่าจนผู้เข้าแข่งขันได้แค่ภาวนาถึง สื่อผ่านการแต่งฉากให้คล้ายเป็นสัญลักษณ์ของสวนอีเดนในสวรรค์ต่างกับนรกที่ผู้เข้าแข่งขันกำลังเผชิญ ตัวเกมเองก็เป็นการเสียดสีกฏหมายและการใช้ชีวิตในสังคม

หากเปรียบผู้เข้าแข่งเป็นประชาชน เจ้าหน้าชุดชมพูและฟรอนท์แมนคือรัฐ วีไอพีที่มาจากหลายชาติ ก็อาจจะสื่อถึงกลุ่มธุรกิจใหญ่หรือแชโบลที่แทบจะเรียกได้ว่าครอบครองประเทศในเกาหลีใต้และทุนต่างชาติจากประเทศมหาอำนาจที่คอยชักใยทุกอย่างอยู่เบื้องหลังในจุดที่สูงกว่าจนผู้เข้าแข่งขันได้แค่ภาวนาถึง สื่อผ่านการแต่งฉากให้คล้ายเป็นสัญลักษณ์ของสวนอีเดนในสวรรค์ต่างกับนรกที่ผู้เข้าแข่งขันกำลังเผชิญ ตัวเกมเองก็เป็นการเสียดสีกฏหมายและการใช้ชีวิตในสังคม

การนำการละเล่นวัยเด็กที่แสนงดงามในความทรงจำมาทำให้เป็นเรื่องระทึกขวัญ คือ จุดเด่นข้อหลักที่ซีรีส์เรื่องนี้ และผมคิดว่า Squid Game จะเป็นมากกว่าซีรีส์ เพราะจากเห็นปรากฏการณ์ของซีรีส์เรื่องนี้ก็คือสามารถเอาคอนเทนต์ ไอเดีย และองค์ประกอบของเรื่องไปต่อยอดได้อีกมาก เรียกว่าเป็นซีรีส์ที่จะสามารถสร้างรายได้กันอีกแบบยาว ๆ ไปเลย

 

 

เมื่อเราลองเปรียบเทียบเอาตัวละครกับฉากในซีรี่ย์ไปเทียบกับฉากในชีวิตจริงเราจะพบว่ามีความหมายอะไรแผงอยู่ใน Squid Game

การฟอร์มทีมเกมชักเย่อหรือลูกแก้วผู้หญิงและคนชราจะถูกเลือกเป็นคนท้าย ๆ ก็ชวนให้นึกถึงข่าวการเลือกจ้างงานผู้ชายมากกว่า

การที่อาลีถูกเอาเปรียบในเกมด้วยความที่เป็นคนต่างด้าว ไม่ต่างกับชีวิตจริงข้างนอกของอาลีและแรงงานต่างด้าวทั่วโลก

กฏที่สุดจะแฟร์ก็มีรอยรั่วได้ถ้าคุณมีผลประโยชน์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ สะท้อนถึงการใช้อำนาจในทางมิชอบ

ความเมินเฉยของเจ้าหน้าที่ ที่ปล่อยให้ใครทำอะไรได้ตามใจหากไม่ระบุไว้ในกฏ แม้ว่าจะผิดศีลธรรมก็ตาม

การที่ โออิลนัม ผู้เข้าแข่งขันหมายเลข No.001 (รับบทโดย โอยองซู) เป็นคะแนนสุดท้ายที่กำหนดการยุติการแข่งขันในครั้งแรกและการเฉลยว่าเขาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง

การใช้เกมวัยเด็กของรุ่นเบบี้บูมเมอร์ส์มาเป็นตัวตัดสินชีวิตคนก็สื่อถึงประเทศที่ถูกวางระแบบและกำหนดชะตาโดยคนรุ่นนี้

 

 

ผู้เล่นที่สมัครใจเข้ามาเล่นเกมทั้งโดยไม่มีใครบังคับ ทั้งที่รู้ว่าทุกอย่างเลวร้ายเหมือนนรกเพราะมันดีกว่ารอความตายอยู่ข้างนอก ก็เหมือนกับคนที่เข้ามาสู่ระบบทุนนิยมด้วยความสมัครใจ ยอมกู้หนี้ยืมสิน แลกร่างกายและความเป็นมนุษย์ให้กับนายทุนและระบบที่บอกว่า ถ้าเพียงทำตามกติกา เอาชนะเกมได้ก็จะประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งที่ความจริงแล้ว มีแค่หนึ่งในหลายร้อยที่จะได้สัมผัสสิ่งนั้นหลังจากพยายามแทบตาย ในขณะทีคนอีกกลุ่มไม่ต้องทำอะไรก็อยู่บนยอดปีรามิด

หลายความเห็นอาจมองว่าเกมปลาหมึกในด่านสุดท้ายอาจไม่เร้าใจสมเป็นจุดไคล์แมกซ์ของเรื่อง แต่ความหมายที่แฝงไว้นั้นเข้มข้นสมเป็นด่านสุดท้าย โดยการให้ซองกีฮุนจากชนชั้นแรงงานเป็นฝ่ายบุก ที่ต้องกระโดดขาเดียวไปจนกว่าเขาจะข้าม ‘คอปลาหมึก’ เขาจึงจะเดินสองขาได้เหมือนโจซังอูจากชนชั้นกลางที่คอยตั้งรับและรักษาเขตแดน และเขาจะชนะหากต่อสู้จนได้ไปยืนอยู่ที่ยอดของสามเหลี่ยมบนตัวปลาหมึก เป็นการสรุปการต่อสู้ของชนชั้นแรงงานที่พยายามข้ามอุปสรรคและความไม่เท่าเทียมของชนชั้นไปสู่จุดจูงสุด ผ่านการละเล่นได้อย่างแยบยล และภาพของความยุติธรรมที่เกมสร้างไว้ก็พังทลายลงอย่างสมบูรณ์ในฉากนั้นเอง

 

 

นักแสดงทุกคนเล่นดีมาก เข้าถึงบทบาท เข้าถึงอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ดูแล้วอินตาม โดยปกติแล้วนักแสดงเกาหลีจะแสดงซีรี่ย์ได้ดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และซีรี่ย์เรื่องนี้ก็ยังคงระดับความเก่ง ความดีงาม ความสามารถในการแสดงของนักแสดงเกาหลีเอาไว้ได้ ใครเด่นจุดไหน บทยังไง ตัวละครยังไง เล่นดีจนอินได้ ระยะเวลา ซี่รีย์สั้นดี 9 ตอน โปรดักชั่นดี คอสตูมในเรื่องติดตาดี ออกแบบการตัดฉากให้กระชับ ผูกพันกับตัวละคร ดูเข้าหยุดดูไม่ได้

พระเอก เป็นตัวละครที่จืดและไม่น่าเอาใจช่วยเลยที่สุดคนนึง ไม่ได้ฉลาด แรงไม่มี ชีวิตติดการพนัน เอาเงินประกันแม่ไปใช้เล่นพนัน เลี้ยงลูกไม่ได้ แต่ดันมีศักดิ์ศรีไม่รับเงินที่คนอื่นให้ซะงั้น บทพยายามจะทำให้พระเอกดูเป็นคนดีในหลายๆจังหวะ แต่ไม่ช่วย ที่สำคัญ พระเอกเป็นตัวละครที่บทในเกมจืดมากมาย ไม่เด่นอะไรเลยในสักด้าน รอดมาได้เพราะเพื่อนช่วยกับดวงแท้ๆ

พระรองใส่แว่น ที่น่าจดจำกว่าพระเอก ฉลาด  ตัดสินใจเด็ดขาด ในเกมส่วนใหญ่รอดมาได้ด้วยฝีมือบวกสมองและการเด็ดขาดในการตัดสินใจ เหี้ยมและเด็ดเดี่ยวดี

นางเอกเกาหลีเหนือ บทเหมือนจะเด่น เสียดายมากๆที่ไม่ได้เล่นอะไรมากกว่านี้ อย่างตอนไปห้องน้ำ เสียเวลาไป 1 ตอน กับการแอบไปดูห้องครัว แต่ดันหมด แค่นั้น น๊อตที่ขันไม่แน้นก็ไม่ได้เอามาใช้ แต่เป็นตัวละครที่ดึงดราม่า ดึงเศร้าได้ดี เป็นตัวละครที่เรารู้สึกอินกับความโดดเดี่ยวได้ดีมากๆ

มุมกล้อง เพลง คอสตูม สี มู้ดและโทนของซีรีย์ดีมาก ฉากทุกฉากก็คือถ่ายดีสมกับที่เป็นซีรี่ย์เกาหลีเพราะทำดีมาโดยตลอด ไม่เคยทำให้ผิดหวังเลยสักครั้ง คอสตูมดีมาก ชุดผู้คุมเกมคือเป็นเอกลักษณ์มาก สร้างภาพจำให้แก่ผู้ชมได้ดีแบบที่ว่าพอเห็นชุดก็คือรู้เลยว่ามาจากซีรี่ส์เรื่องไหน ภาพ เสียงคือลอยเข้ามาในหัวเลย สีในแต่ละฉากกับสีเสื้อผ้าก็คือดี เข้ากันหมด เลือกใช้สีได้ดีมาก

ไอเดียของซีรี่ส์ เป็นซีรีส์ที่เสียดสีสังคมได้ดีมาก คนจนเล่นการพนันเพื่อหนีความจน คนรวยเอาเปรียบคนจนเป็นลำดับขั้นไป แบบ คนรวยมากๆ อีลิท เอาเปรียบพนักงานเงินเดือนหรือคนชนชั้นกลาง แล้วก็เอาเปรียบแรงงานต่างด้าวอีกทีนึง พอเป็นคนรวยก็จะถูกทรีตดีๆ แต่ถ้าเป็นคนจนก็อย่าหวังเลยว่าจะได้รับเรื่องแบบนั้น เรื่องการเมืองที่เทียบกับในเกมที่แข่งกันคือมีกติกา เทียบคือเป็นกฎหมาย เพื่อให้ชนะโดยวิธีไหนก็ได้โดยยังอยู่ในกติกา เจ้าหน้าที่ก็ไม่พูด ปิดปากเงียบ เหมือนการที่รัฐบาลเมินเฉยกับสิ่งที่ผิด คนดีอยู่ในสังคมไม่ได้เพราะถูกเอาเปรียบ ถูกหลอกอยู่เสมอ และซีรี่ย์นำเกมที่เอาไว้เล่นตอนเด็กๆ มาทำได้ดีมาก โด่งดังจนคนทำแผ่นน้ำตาลมาเล่นตาม ทำฟิลเตอร์ในไอจีเป็นเกมAEIOU นำเสนอวัฒนธรรมเกาหลีได้เก่งมากโดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มเกาหลี

 

รีวิวและสปอย Squid Game -44

 

ทั้งนี้จุดเสียของเรื่องนี้ก็มีอยู่ ฉากคาดเดาได้ง่าย ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ฉากจบค่อนข้างแย่ หลังจากที่ทำมาดีทั้งเรื่อง แต่ตอนจบกลับทำมาให้น่าผิดหวังซะงั้น

สรุปง่ายๆคือ ตัวซีรี่ย์ เนื้อหาไม่ได้มีอะไรใหม่ เอาคนเป็นหนี้ มาแข่งเกมกันแย่งเงินรางวัล ใครชนะก็ได้เงินทั้งหมดไป โดยมีดราม่าของคน  ดราม่าของเกม ดราม่าหลังเกม จุดหักมุมเล็กๆในตอนสุดทัาย

หากชอบบทความนี้ สามารถติดตาม รีวิวหนัง สปอยหนัง เรื่องอื่นๆ ได้ที่ สปอยหนังดี

 

 

ใส่ความเห็น