รีวิว The Pianist
The Pianist (2002)สงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ
ภาพยนตร์สร้างจากเรื่องจริงของนักเปียโนระดับโลกชาวยิว วลาดิสลาฟ สปิลมัน หรือวลาเดค (Adrien Brody)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเริ่มเรื่องในปี ค.ศ.1939 ทหารนาซีเข้าบุกโปแลนด์ และได้จำกัดสิทธิของชาวยิวทุกคน จนอังกฤษ กับฝรั่งเศส ได้เริ่มประกาศสงคราม กับเยอรมัน ครอบครัวของวลาเดค และชาวยิวทุกคนต้องย้ายไปอาศัยในเขตกักกันชาวยิว ต่อมาครอบครัว ชาวยิว ได้ถูกกวาดต้อน ให้ขึ้นรถไฟ เพื่อย้ายเขตกักกัน เว็บดูหนัง
แต่ด้วยความช่วยเหลือของเพื่อนวลาเดค ทำให้เขาหนีรอดจากการขึ้นรถไฟเพียงคนเดียว ทำให้เขาต้องดิ้นรนหาที่ซ่อนจากพวกทหารนาซี จนกว่าสงครามจะสงบ และวลาเดคจะได้พบครอบครัวอีกครั้งหรือไม่
อีกหนึ่งภาพยนตร์ หนังสงคราม จากเรื่องจริงของ Wladyslaw Szpilman ที่สะท้อนความโหดร้าย ของสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกเช่นเคย เป็นสงครามที่ชาวยิวต้องเผชิญกับสถานการณ์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อันแสนโหดเหี้ยม ผ่านฝีมือ การกำกับของ Roman Polanski ผู้กำกับสายหนังคุณภาพอีกคน ที่เป็นชาวโปแลนด์เหมือนกัน ซึ่งในเรื่องนี้ แม้ว่าจะเป็นหนัง ที่เกี่ยวกับสงคราม และมีฉากหลังเป็นสงคราม แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันกลับเป็นหนังที่เล่าถึงผลพวงจากสงครามที่ส่งผลกระทบต่อคนๆ หนึ่ง หรือผลกระทบต่อคนกลุ่มหนึ่งต่างหาก ด้วยการเล่าเรื่องราวที่เกาะไปกับตัวละครเอกตั้งแต่เริ่มเรื่องที่มีชีวิตปกติสุข ไปสู่สถานการณ์ที่ค่อยๆ เลวร้ายมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นชวนหดหู่ไปกับเรื่องราว อันแสนระทึกนี้ ที่ ดูหนังออนไลน์
หนังสร้างจากเรื่องจริงของวลาดิซสลาฟ สปิลมัน (Adrien Brody)นักเปียโนชาวยิวชื่อดังที่อาศัยอยู่ในกรุงวอซอร์ประเทศโปแลนด์ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดเมื่อทหารเยอรมันได้บุกเข้ายึดโปแลนด์และทำการกดขี่ชาวยิวเยี่ยงทาสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
The Pianist เป็นหนังยอดเยี่ยมที่ถ่ายทอดความโหดร้ายที่คนยิวต้องเจอในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้เป็นอย่างดีเรื่องหนึ่งที่ตลอดทั้งเรื่องมันมีแต่ความสิ้นหวังที่เหมือนจะไม่มีวันสิ้นสุดไร้ทางออกทำได้แค่ก้มหน้ายอมรับชะตากรรมที่ต้องเจอ และ The Pianist ยังเป็นหนังที่จะคอยเตือนสติเราให้ได้รู้ว่า “สงคราม” มันเลวร้ายและรุนแรงขนาดไหน
ถ้าใคร พอจะจำได้ ผเคยได้รีวิวหนังสุดยอด สงคราม ยุคเก่า ไปในบทความที่แล้ว และเรื่องนี้ ก็สอดคล้องกัน เป็นเรื่องที่ผมยก ขึ้นมา กล่าว อาจจะเป็นเพราะได้ดูเรื่องนี้หลังจาก Schindler’s List เลยทำให้ความชอบลดลงไประดับหนึ่งเพราะบางอย่างของหนังอาจจะไม่ได้ประณีตเท่า จึงไม่แปลกใจว่าทำไมหนังถึงแพ้ Best Picture ให้กับ Chicago หรือแม้แต่ The Hours จากลูกโลกทองคำ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นหนังที่จารึกประวัติศาสตร์อันน่ากลัวของนาซีได้อย่างดีเยี่ยม ยิ่งเป็นหนังชีวประวัติของบุคคลจริงและผู้กำกับก็เคยเป็นคนหนึ่งที่เคยใช้ชีวิตในค่ายกักกัน จึงถ่ายทอดหนังออกมาได้อารมณ์มากจริงๆ
รีวิว The Pianist มารู้จักกับที่มาที่ไปของหนัง เรื่องนี้กันก่อน
เมื่อระเบิดจากการรุกรานของกองทัพนาซีได้ทำให้สถานีวิทยุโปแลนด์ต้องปิดตัวลงในวันที่ 23 กันยายน ปี 1939 ดนตรีในการถ่ายทอดสดครั้งสุดท้ายเป็นการแสดงของวลาดีสลอว์ สปีลแมนในเพลง Sharp minor Nocturne ของโชแปง และเมื่อการกระจายเสียงได้รับการรื้อฟื้นในปี 1945 ก็เป็นสปีลแมนอีกเช่นกันที่เป็นคนริเริ่ม พร้อมด้วยเพลง ๆ เดิมของโชแปง (เวลาก็เป็นเวลาเดียวกัน แต่ทรงพลังน้อยกว่า และสถานีวิทยุบีบีซีได้กลับมาเอาการ์ตูนมิคกีเมาส์มาคั่นรายการด้วย)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับสปีลแมนในช่วงเวลาสั้น ๆ ของสงครามนั้นเป็นตัวอย่างน่าสะพึงกลัวที่สุดตัวอย่างหนึ่งของชาวยิวภายใต้เงื้อมือของนาซี ดังปรากฏในหนังสือซึ่งถูกตีพิมพ์ในปีที่แล้วและเข้าสู่ระดับขายดีที่สุดระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องไม่น่าประหลาดใจที่ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นผลงานชิ้นเอกที่น่ากลัวและมีเสน่ห์ในเวลาเดียวกัน
สปีลแมนได้เขียน The Death of a City หรือ “ความหายนะของนคร” (ชื่อเรื่องชื่อแรกในบันทึกความจำของเขา)
ในปี 1945 เพื่อเป็นการรักษาแผลใจ ไม่มากก็น้อย เขาบันทึกความทรงจำของตนในกระดาษ และได้ทำให้มันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา การกระทำเช่นนี้ได้ทำให้เห็นว่าเขาเป็นนักเขียนที่เป็นเอตทัคคะคนหนึ่ง ข้อเขียนของเขามีพลังในการบรรยายและต่อความเป็นมนุษย์อันปราศจากความน้อยเนื้อต่ำใจและการยกตน ระหว่างชีวิตกับความตายคือการกระโดดอันแสนยากเย็น”
“ณ จุด ๆ หนึ่ง เด็กชายคนหนึ่งเดินฝ่าฝูงชน มาทางพวกเรา พร้อมด้วยกล่องขนมหวาน ซึ่งผูกด้วยเชือกคล้องคอเขาอยู่ เขาขายขนมด้วยราคาแบบเสียสติ ถึงแม้เพียงสวรรค์จะรู้ว่าเขาจะเอาเงินเหล่านั้นไปทำอะไร เมื่อเอาเงินที่มีอยู่น้อยนิดมารวมกันแล้ว พวกเราก็ได้ซื้อครีมคาราเมลก้อนเดียวมา พ่อได้แบ่งมันออกเป็นหกส่วนด้วยมีดขนาดปากกา นั่นคืออาหารที่เราทานกันมื้อสุดท้าย”
แต่ในขณะที่สปีลแมนถูกต้อนเข้าไปในรถไฟ ตำรวจยิวคนหนึ่งก็คว้าคอเสื้อเขาไว้พร้อมกับห้อยตัวเขาร่องแร่งออกไปจากฝูงชน ไม่ยอมให้เขาอยู่ร่วมกับครอบครัวบนการเดินทางสายมรณะ (เขายังได้บรรยายอีกถึงฉากตอนที่เขาแยกจากครอบครัว
สปีลแมนได้เริ่มฝึกหัดเป็นนักดนตรีครั้งแรก ณ โรงเรียนดนตรีโชแปงในกรุงวอร์ซอภายใต้การควบคุมของ โจเซฟ ซมิโดวิคซ์และ อเล็กซานเดอร์ มิชโลว์สกี ทั้งคู่เคยเป็นนักเรียนของฟรานซ์ ลิซท์ ในปี 1931 เขาได้สมัครไปเรียนที่โรงเรียนสอนศิลปะ หรือ Akademice der Kunste ในกรุงเบอร์ลิน เขาได้เรียนเปียโนกับ นักเปียโนชื่อดังที่สุดสองคนในยุคนั้น คือ อาร์เทอร์ ชเนเบลและลีโอนิด ครอยเซอร์ และเรียนการแต่งเพลงจาก ฟรานซ์ ชเรเกอร์
นักแต่งเพลงและอุปรากรชื่อดังเช่นเรื่อง Der ferne Klang ในการกลับไปโปแลนด์ในปี 1933 เขาได้เป็นคู่หูที่ประสบความสำเร็จกับนักไวโอลิน บรอนิสลอว์ กิมเพล ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวง Piano Quintet (เครื่องดนตรี 5 ชิ้นคือ เปียโน เบส ไวโอลิน 2 ชิ้น และวิโอลา แห่งกรุงวอร์ซอซึ่งการออกแสดงได้ทำมันให้กลายเป็นวงดนตรีระดับโลก สปีลแมนยังคงเล่นอยู่กับวงๆ นี้จนถึงปี 1986 และสุดท้าย สปีลแมนถึงแก่กรรมในวันที่ 6 กรกฏาคม ปี 2000 รีวิวหนังสงครามออนไลน์
ความคิดเห็นหลังดูหนังเรื่องนี้จบ
หนังถ่ายทอดจากมุมมองของวลาเดคเพียงอย่างเดียวตลอดเวลาสองชั่วโมงครึ่งของหนัง ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องดีที่ทำให้เราอินไปกับตัวละครได้ง่าย เพราะขนาดในบางครั้งที่เหมือนเขาจะปลอดภัยแต่ก็ต้องมีเหตุอะไรซักอย่างลากเขากลับไปอยู่ในจุดที่ต้องหนีหัวซุกหัวซุนอยู่เสมอ (ฉากผู้หญิงห้องข้างๆนี่สาระแนนักจนอยากจะทุบหลังซักแอ้ก) โดยที่หนังก็แสดงให้เห็นถึงมุมมองแปลกๆที่ไม่ค่อยได้เห็นจากหนังแนวๆนี่คือชาวยิวที่ไม่ยอมก้มหัวอีกต่อไป เลือกที่จะสู้ถึงแม้จะรู้ว่าตัวเองจะตายแน่ๆก็ตาม
หนังทำบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของเขตกักกันคนยิวในเมืองได้สะเทือนใจมาก มันมีทั้งคนป่วยคนเจ็บศพคนตายอยู่เต็มไปหมดบนท้องถนน การขโมยของกลายเป็นเรื่องปกติที่คนเห็นกันจนชินชาไม่มีใครสนใจหรืออยากเข้าไปช่วยเพราะลำพังแค่เรื่องของตัวเองยังจะเอาไม่รอด ความอดอยากกลายเป็นสิ่งคนยิวทุกคนต้องเจอ อดอยากถึงขนาดที่ลูกอมอันเดียวยังต้องเอามาแบ่งกันกินถึง 6 คน เรียกว่าถ่ายทอดภาพชีวิตของคนยิวได้สมจริงมาก
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันมีหนังเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตของคนยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองออกมาเยอะมากที่โชว์ถึงความโหดร้ายและสิ่งที่ชาวยิวต้องเจอเมื่อทหารเยอรมันเข้ามาปกครอง แต่หนังส่วนมากจะกล่าวถึงการใช้ชีวิตของของชาวยิวในค่ายกักกันของทางเยอรมันซะมากกว่า รีวิวหนังบู้ออนไลน์
แต่เรื่อง The Pianist จะต่างออกไปที่จะโชว์ชีวิตของคนยิวที่แอบลักลอบอาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ถูกปกครองโดยทหารเยอรมัน ดังนั้นอารมณ์ที่ได้มันจึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หนังจะไม่ได้มีฉากที่แสดงให้เห็นตัวเอกอย่างสปิลมันโดนใช้แรงงานหนักอะไรมากมาย แต่สิ่งที่จะได้เห็นหนักๆเลยคือฉากการหลบซ่อนตัวอยู่ในห้องพักแคบๆไม่ได้ออกไปไหนอยู่อย่างไร้เป้าหมายและหวาดกลัวว่าวันไหนตัวเองจะถูกจับ
ตลอดทั้งเรื่องจะได้เห็นการฆ่า สังหาร และทำร้ายชาวยิวเยี่ยงสัตว์ที่ไร้ค่าไม่ว่าจะเป็นคนแก่ เด็ก ผู้หญิง คนท้อง โดยไร้เหตุผลหรือด้วยเหตุผลที่บ้าบออย่างทำร้ายคนยิวเพื่อฉลองวันขึ้นปีใหม่ และยังได้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมของคนยิวที่ถูกสังคมกำจัดสิทธิ์ในการใช้ชีวิตตั้งแต่ช่วงก่อนที่สงครามยังไม่เกิด
ในเฉพาะในช่วงกลางๆ ไปจนถึงท้ายๆ เรื่องนั้น มีหลายเหตุการณ์ในหนังมากที่ทำเอาคุณดูต้องจุกจนน้ำตาไหล ไม่เพียงแค่เฉพาะชะตากรรมอันโหดร้ายที่เกิดขึ้นกับชีวิตตัวเอกเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงชาวยิวรอบๆ ข้างที่หนังทำให้เห็นว่าชีวิตพวกเขาก็พินาศไม่แพ้กัน เพียงเพราะเขาเกิดมาเป็นชาวยิวเท่านั้น
ทำให้หนังเต็มไปด้วยเหตุการณ์ หรือ สถานการณ์ที่ชวนบีบหัวใจ มากมาย (เล่นเอาสมองสั่นกันเลยทีเดียว) และเส้นทางของชีวิตชาวยิวในเรื่องก็ดูช่างไร้ความหวัง และหนทางในการที่จะกลับไปมีชีวิตปกติ ซึ่งการเล่าเรื่องของชาวยิวที่แอบลักลอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ก็เป็นมุมที่เราไม่ค่อยเห็นนักในหนังสงครามประเภทนี้ เพราะส่วนมากเราจะเห็นการไปลงเอยของพวกเขา ที่ค่ายกักกันเสียมากกว่า รีวิวหนังสงคราม